วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กระบวนการการส ำรวจข้อมูลระยะไกล

สำหรับกระบวนการการสำรวจข้อมูลระยะไกล ประกอบด้วยสองกระบวนการหลัก

1) การรับข้อมูลและบันทึกสัญญาณข้อมูล (Data acquisition) โดย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(Electromagnetic spectrum) จากแหล่งกำเนิดพลังงาน (ดวงอาทิตย์) (ก) เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ (ข) เกิดปฏิสัมพันธ์ของพลังงานกับรูปลักษณ์พื้นผิวโลก (ค) และเดินทางเข้าสู่อุปกรณ์บันทึกข้อมูล (Sensor) ที่ติดตั้งในตัวยาน (Airborne or Spaceborne) (ง) และถูกบันทึก และผลิตเป็นข้อมูลในรูปแบบภาพ (Sensor Data inPictorial หรือPhotograph) และ/หรือรูปแบบเชิงตัวเลข(Digital Form) (จ)
2) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) ประกอบด้วยการแปลความข้อมูลด้วยสายตา (Visual
Interpretation) และการวิเคราะห์เชิงตัวเลข(Digital Analysis) (ฉ)
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum)
     คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานต่อเนื่องที่มีค่าความยาวของช่วงคลื่นหลายเมตรถึงเศษส่วนของพันล้านเมตร (Nanometer; 10-9ม) โดยดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานในรูปแม่เหล็กไฟฟ้าทางธรรมชาติที่สำคัญและเป็นหลักทางการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล ซึ่งจะแผ่พลังงานไปตามทฤษฎีของคลื่น(Wave Theory) ที่มีการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิค (Harmonic) มีช่วงซ้ำและจังหวะเท่ากันในเวลาหนึ่งมีความเร็วเท่าแสง (c) ระยะทางจากยอดคลื่นถึงยอดคลื่นถัดไปเรียกว่าความยาวคลื่น และจำนวนยอดคลื่นี่เคลื่อนผ่านจุดคงที่จุดหนึ่งต่อหน่วยเวลา เรียกว่า ความถี่คลื่น (f ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเร็วคลื่น คือ



ลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Spectrum)

       ความยาวคลื่นและความถี่คลื่น มีความสัมพันธ์กันแบบผกผัน คือ ความยาวคลื่นมากความถี่จะน้อย ความยาวคลื่นมีหน่วยวัดเรียกว่า ไมโครมิเตอร์(Micrometer, m m) หรือไมครอน (Micron,) ซึ่งเท่ากับ 0.000001 ม. หรือ10-6ม.
      คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แบ่งออกได้ตามความยาวของคลื่นที่เรียกว่า ช่วงคลื่น (Band) ตั้งแต่ช่วงคลื่นที่มีความยาวสั้นที่สุด คือ รังสีคอสมิค (Cosmic ray) มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-10 ไมครอน จนถึงช่วงคลื่นวิทยุที่มีความยาวคลื่นหลายกิโลเมตร สำหรับคุณสมบัติของช่วงคลื่น ประกอบไปด้วยช่วงคลื่นตามลำดับของความยาวดังนี้รังสีแกมม่า รังสีเอ็กซ์อุลตราไวโอเล็ต ตามองเห็น อินฟราเรด ไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ(ตารางที่1)
ช่วงคลื่น (Band) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
     1. ช่วงคลื่นเชิงแสง (Optical Wavelength) อยู่ระหว่าง 0.4 - 14 ไมครอน ซึ่งสามารถถ่ายภาพและบันทึกภาพด้วยฟิล์มถ่ายรูป และอุปกรณ์บันทึกภาพ (Sensor) โดยประกอบไปด้วย ช่วงคลื่นที่มีผลตอบสนองต่อตาของมนุษย์หรือช่วงคลื่นแสงสว่าง(Visible light) อยู่ระหว่าง 0.4 - 0.7 ไมครอน แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ น้ าเงิน เขียว และแดง ถัดมาเป็นช่วงคลื่นอินฟราเรดช่วงใกล้(Near Infrared) หรืออินฟราเรดสะท้อนแสงระหว่าง 0.7-3 ไมครอน และอินฟราเรดช่วงความร้อน(Thermal Infrared) ระหว่าง 3-15 ไมครอน
     2. ช่วงคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Wavelength) อยู่ระหว่าง 1 มม. - 1 ม. โดยช่วงคลื่นในกลุ่มนี้จะเรียกหน่วยนับเป็นหน่วยความถี่ ต่างจากกลุ่ม Optical ที่มีหน่วยเป็นความยาวคลื่นที่รู้จักกันดีก็คือระบบเรดาร์(RADAR) ซึ่งจะท าการบันทึกข้อมูลในช่วงคลื่นความถี่ระหว่าง 3-12.5 GHz (ความยาวคลื่นระหว่าง 2.4-100 เซนติเมตร) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น แบนด์ต่างๆ ได้ดังนี้
- X -band ความถี่8 -12.5 GHz หรือความยาวคลื่น 2.4 -3.75 ซม.
- C -band ความถี่4 -8 GHz หรือความยาวคลื่น 3.75 -7.5 ซม.
- S -band ความถี่2 -4 GHz หรือความยาวคลื่น 7.5 -15 ซม.
- L -band ความถี่1 -2 GHz หรือความยาวคลื่น 15 -30 ซม.
- P -band ความถี่0.3 -1 GHz หรือความยาวคลื่น 30 -100 ซม.
ตารางช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคุณสมบัต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น